เมนู

อรรถกถาเทวสูตรที่ 8


เทวสูตรที่ 8

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ คือได้ประจัญหน้ากันแล้ว.
บทว่า สงฺคาเมยฺยาม ได้แก่ ทำสงครามคือรบกัน. บทว่า อปสฺสึเสวฺว
ได้แก่ พวกเทวดาพากันหนีไป. บทว่า อุตฺตราภิมุขา คือบ่ายหน้า
ไปทางทิศอุดร. บทว่า อภิภยนฺเตว ได้แก่ รุกไล่ตามไป. บทว่า
ภีรุตฺตาณคเตน ได้แก่ ไปหาที่พึ่งต่อต้านความกล้า คือห้ามความ
กลัว. บทว่า อกรณิยา ได้แก่ พวกอสูรทำการรบไม่ได้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พวกเทวดาและอสูรจึงรบกัน ตอบว่า
เพราะพวกอสูรเคยอยู่ในภพดาวดึงส์มาก่อน ครั้นถึงเวลาดอก-
จิตตปาตลิบาน พวกอสูรระลึกถึงดอกปาริฉันตตกะอันเป็นทิพย์
แต่นั้นพวกอสูรเกิดโกรธขึ้นมากล่าวว่า พวกท่านจงจับเทวดา
ก็พากันออกมา. การรบของเทวดาและอสูรเหล่านั้น เป็นเหมือน
กับเด็กเลี้ยงโค เอาท่อนไม้ทุบตีกันและกัน. ท้าวสักกเทวราช
ตั้งอารักขาไว้ในที่ 5 แห่งเบื้องล่าง ส่วนในเบื้องบนทรงตั้งรูป
เปรียบเหมือนพระองค์ พระหัตถ์ทรงวชิราวุธ แวดล้อมเทวบุรีไว้.
พวกอสูรผ่านขึ้นไปถึงที่ 5 แห่ง เบื้องล่าง เห็นอินทปฏิมา (รูป
พระอินทรีย์) จึงพากันกลับไปอสูรบุรีทันที.
บทว่า ทกฺขิเณน มุขา ได้แก่ บ่ายหน้าไปทางทิศทักษิณ.
บทว่า อปทํ พนฺธิตฺวา ได้แก่ ไม่ให้เหลือรอยเท้าไว้. บทว่า

อทสฺสนํ คโต ความว่า แม้มารก็รู้จิตของภิกษุผู้เข้ารูปาวจร-
จตุตถฌานอันมีวัฏฏะเป็นบาท รู้จิตของภิกษุผู้เข้าสมาบัติ อันมี
วิปัสสนาเป็นบาทนั่นเอง มารย่อมไม่รู้จิตของภิกษุผู้เข้ารูปาวจร-
สมาบัติ อันมีวัฏฏะเป็นบาท หรือมีวิปัสสนาเป็นบาท ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อทสฺสนํ คโต ปาปิมโต ดังนี้.
จบ อรรถกถาเทวสูตรที่ 8

9. นาคสูตร


ว่าด้วยอุปมาการหาความสงบของพญาช้างกับการปฏิบัติของภิกษุ


[244] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้างตัวประเสริฐ
อยู่ในป่าเที่ยวหากิน ช้างพลายบ้าง ช้างพังบ้าง ช้างสะเทิ้นบ้าง
ลูกช้างบ้าง เดินไปข้างหน้า กัดปลายหญ้าไว้ด้วน ช้างตัวประเสริฐ
นั้น ย่อมอิดหนาระอาใจรังเกียจเพราะการกระทำนั้น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้างตัวประเสริฐอยู่ในป่าเที่ยวหากิน ช้างพลาย
บ้าง ช้างพังบ้าง ช้างสะเทิ้นบ้าง ลูกช้างบ้าง กัดกินกิ่งไม้ที่ช้าง
ตัวประเสริฐหักลงไว้ ช้างตัวประเสริฐนั้น ย่อมอิดหนาระอาใจ
รังเกียจเพราะการกระทำนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้าง
ตัวประเสริฐอยู่ในป่าลงสู่สระ ช้างพลายบ้าง ช้างพังบ้าง ช้าง-
สะเทิ้นบ้าง ลูกช้างบ้าง เดินออกหน้า เอางวงสูบน้ำให้ขุ่น ช้าง
ตัวประเสริฐนั้นย่อมอิดหนาระอาใจรังเกียจเพราะการกระทำนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้างตัวประเสริฐอยู่ในป่าขึ้นจาก
สระ ช้างพลายทั้งหลายย่อมเดินเสียดสีกายไป ช้างตัวประเสริฐ
ย่อมอิดหนาระอาใจ รังเกียจเพราะการกระทำนั้น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สมัยนั้น ช้างตัวประเสริฐนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
บัดนี้ เราเกลื่อนกล่นไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้นและ
ลูกช้าง เรากินหญ้ายอดด้วน กินกิ่งไม้ที่ช้างทั้งหลายกินแล้ว ๆ
ดื่มน้ำที่ขุ่นมัว และเมื่อเราขึ้นจากสระ ช้างพังทั้งหลายย่อมเดิน